Last updated: 4 ส.ค. 2565 | 717 จำนวนผู้เข้าชม |
แล็กเกอร์ไม้คืออะไร? แล็กเกอร์นั้นคือ ผลิตภัณฑ์ที่เอาไว้ใช้ในการเคลือบผิวของไม้ให้มีความเงา สวยงาม ไม่เพียงเท่านั้น ยังสามารถป้องกันน้ำ ป้องกันเชื้อรา ป้องกันรอยขีดข่วนที่จะเกิดบนผิวของไม้อีกด้วย ประเภทของแล็กเกอร์นั้น ก็มีอยู่ 2 ประเภท นั่นก็คือ แล็กเกอร์ชนิดเงา และแล็กเกอร์ชนิดด้าน
เลือกใช้แบบไหนให้เหมาะกับงาน?
การทาแล็กเกอร์ไม้ให้สวยนั้น ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่เราต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับงานนั้น ๆ และใช้งานอย่างถูกวิธี ดังนี้ค่ะ
1.งานที่ใช้แล็กเกอร์ชนิดเงา
สำหรับงานที่ต้องใช้แล็กเกอร์ชนิดเงานั้น แล็กเกอร์ประเภทนี้เหมาะสำหรับงานที่เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ ทั้งภายในบ้าน หรือตัวอาคาร ที่ต้องการโชว์ความสวยงามของลวดลายของไม้ ผลิตภัณฑ์จากทาง TOA ที่แนะนำนั่นก็คือ ทีโอเอ แล็กเกอร์ ชนิดเงา T-5000 แล็กเกอร์ชนิดเงานั้น เมื่อทาลงพื้นผิวไม้จะช่วยให้เงางามเพิ่มขึ้น เนื่องจากฟิล์มของแล็กเกอร์มี่ความโปร่งใส ทำให้สามารถมองเห็นลายไม้ได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังแห้งเร็วอีกด้วย ทำให้เฟอร์นิเจอร์ไม้มีความสวยงามที่โดดเด่นขึ้นมานั่นเองค่ะ
คุณสมบัติ ของ ทีโอเอ แล็กเกอร์ ชนิดเงา T-5000
- ปริมาณเนื้อสีมาก ความเข้มข้นสูง ผสมใช้งานได้พื้นที่มาก
- ขึ้นฟิล์มเร็ว ให้ความเงางามสูง
- ฟิล์มสียืดหยุ่น ลดการแตกลายงาของฟิล์มสี
- ฟิล์มสีใสโปร่งตา เห็นลายไม้ชัดเจน
- ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย EN71 จากประเทศยุโรป (ไม่ผสมโลหะหนักอันตราย 8 ชนิด)
ที่มา https://www.toagroup.com/th/products/wood-coatings/furniture/343/toa-clear-gloss-lacquer-t-5000
2.งานที่ใช้แล็กเกอร์ชนิดด้าน
สำหรับงานที่ต้องใช้แล็กเกอร์ชนิดนั้นด้าน แล็กเกอร์ประเภทนี้เหมาะสำหรับงานที่เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ ทั้งภายในบ้าน หรือตัวอาคาร สำหรับความสวยอย่างเรียบง่าย ผลิตภัณฑ์จากทาง TOA ที่แนะนำนั่นก็คือ ทีโอเอ แล็กเกอร์ ชนิดด้าน T-5500 เมื่อพ่นหรือทาลงไป จะทำให้ขึ้นฟิล์มเร็วขึ้น มีความเรียบเนียน อีกทั้งยังยึดเกาะได้ดีทั้งบนผิวไม้จริงและไม้อัด ได้เช่นเดียวกันกับแล็กเกอร์ชนิดเงาค่ะ
คุณสมบัติ ของ ทีโอเอ แล็กเกอร์ ชนิดด้าน T-5500
- เนื้อสีมาก ผสมทินเนอร์ใช้งานได้พื้นที่มากกว่า
- ขึ้นฟิล์มเร็ว ให้ฟิล์มสีด้านดูเรียบเนียน
- ฟิล์มสียืดหยุ่น ช่วยลดการแตกลายงา
- สีใส โปร่งแสง เห็นลายไม้ชัดเจน
- ปลอดภัยด้วยมาตรฐานยุโรป EN71 ปราศจากโลหะหนักอันตราย 8 ชนิด
ที่มา https://www.toagroup.com/th/products/wood-coatings/furniture/215/toa-clear-matt-lacquer-t-5500
สำหรับงานไม้ทั่วไปที่ต้องใช้แล็กเกอร์ ก็สามารถใช้ได้ทั้ง ทีโอเอ แล็กเกอร์ ชนิดด้าน T-5500 และ ทีโอเอ แล็กเกอร์ ชนิดเงา T-5000 เช่นกันค่ะ ผลิตภัณฑ์แล็กเกอร์ทาไม้จาก TOA ก็มีคุณสมบัติที่ป้องกันน้ำ และป้องกันเชื้อราเช่นกันค่ะ และยิ่งเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องเสี่ยงต่อการโดนน้ำสูง อย่างเช่น โต๊ะอาหาร เคาน์เตอร์ในห้องครัว ก็ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติป้องน้ำด้วย เพื่อให้เฟอร์นิเจอร์สามารถใช้การได้ยืนยาว
ขั้นตอนการใช้แล็กเกอร์ทาไม้
1.ผสมแล็กเกอร์กับทินเนอร์
แล็กเกอร์คือสารเคลือผิวที่ระเหยและแห้งได้เร็วไว ถ้านำไปใช้ทันทีจะทำให้ทาได้ยากจนเกิดเป็นรอยได้ง่าย ๆ จึงต้องนำทินเนอร์งานไม้มาผสมกันให้เจือจางเสียก่อน เพื่อที่จะช่วยให้การทาแล็กเกอร์ไม้นั้นทาได้ง่ายและแล็กเกอร์ซึมเข้าเนื้อไม้ได้ดีขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ชนิดของทินเนอร์สำหรับผสมแล็กเกอร์เคลือบไม้เพื่อให้เจือจางนั้นนั้น แนะนำใช้ TOA แลกเกอร์ทินเนอร์ เบอร์ 71 ค่ะ สามารถดูอัตราส่วนผสมดูได้ที่ฉลากข้างผลิตภัณฑ์ได้เลยค่ะ
ชนิดของทินเนอร์
1.1 ทีโอเอ ทินเนอร์ผสมสีเคลือบ เบอร์ 21
ทีโอเอ ทินเนอร์ เบอร์ 21 ผลิตจากตัวทำละลายอินทรีย์แบบผสม ใช้สำหรับเจือจางสีย้อมไม้และสีเคลือบเงาแอลคีด ช่วยให้สีซึมลึกเข้าสู่เนื้อไม้ได้ดีเยี่ยม เพิ่มการยึดเกาะ ทำให้ฟิล์มเรียบ และมีความเงาสูง
ที่มา https://www.toagroup.com/th/products/wood-coatings/thinner-for-wood/330/toa-thinner-no21
1.2 ทีโอเอ ทินเนอร์ผสมโพลียูรีเทน เบอร์ 41
ทีโอเอ ทินเนอร์ เบอร์ 41 ผลิตจากตัวทำละลายอินทรีย์แบบผสมชนิดพิเศษ เหมาะสำหรับผสม โพลียูรีเทน 1 ส่วน ช่วยให้ทาง่าย ให้ฟิล์มสีที่เรียบ มีการยึดเกาะที่ดี และมีความเงาสูง
1.3 ทีโอเอ ทินเนอร์ผสมโพลียูรีเทน เบอร์ 43N
ทีโอเอ โพลียูรีเทน ทินเนอร์ เบอร์ 43N ผลิตจากตัวทำละลายอินทรีย์แบบผสมชนิดพิเศษ เหมาะสำหรับ ผสมทีโอเอ โพลียูรีเทน 2 ส่วน ช่วยให้ทาง่าย ฟิล์มสีมีการยึดเกาะที่ดี
ที่มา https://www.toagroup.com/th/products/wood-coatings/thinner-for-wood/26/toa-polyurethane-thinner-no43
1.4 ทีโอเอ แล็กเกอร์ทินเนอร์ เบอร์ 71
ทีโอเอ แล็กเกอร์ทินเนอร์ เบอร์ 71 ผลิตจากตัวทำละลายอินทรีย์แบบผสม ใช้เจือจางสีพ่นอุตสาหกรรม, สีพ่นรองพื้นชนิดแห้งเร็ว, ไนโตรเซลลูโลสแล็กเกอร์, แล็กเกอร์ แซนดิ้ง ซีลเลอร์ และสีพ่นรถยนต์เกรด NC ช่วยเพิ่มการยึดเกาะ ทำให้ฟิล์มเรียบ และมีความเงาสูง
ที่มา https://www.toagroup.com/th/products/wood-coatings/thinner-for-wood/179/toa-lacquer-thinner-no71
1.5 ทีโอเอ หัวทินเนอร์แล็กเกอร์ เบอร์ 235
หัวทินเนอร์ ทีโอเอ เบอร์ T235 เป็นตัวทำละลายอินทรีย์ชนิดแห้งช้า ช่วยให้ฟิล์มสีเรียบและเงา ป้องกันการเกิดฝ้าขาว ใช้สำหรับผสมแล็กเกอร์, โพลียูรีเทน หรือสีพ่นแห้งเร็ว ช่วยให้สามารถใช้งานสีได้ในสภาวะที่อากาศมีความชื้น หรือ ฝนตก
ที่มา https://www.toagroup.com/th/products/wood-coatings/thinner-for-wood/274/toa-retarder-thinner-no235
1.6 ปลาฉลามโพลียูรีเทนทินเนอร์ เบอร์ 88
ทินเนอร์ ตราปลาฉลาม เบอร์ 88 ผลิตจากตัวทำละลายอินทรีย์แบบผสม เหมาะสำหรับผสม โพลียูรีเทน 1 ส่วน ตราปลาฉลาม ช่วยให้ทาง่าย ให้ฟิล์มสีที่เรียบ มีการยึดเกาะที่ดี และมีความเงาสูง
ที่มา https://www.toagroup.com/th/products/wood-coatings/thinner-for-wood/314/shark-polyurethane-thinner-no88
2.ขัดไม้ด้วยกระดาษทราย
สำหรับขัดตอนการเตรียมไม้ หากไม้มีเนื้อที่หยาบมาก ๆ จะต้องใช้กระดาษทรายขัดไม้ ทีโอเอ DCS เบอร์ 80 ขัดก่อนหนึ่งรอบ เพื่อให้ผิวไม้มีความเรียบเสมอกัน หลังจากนั้นจึงใช้ กระดาษทราย ทีโอเอ DSC เบอร์ 120 ขัดซ้ำอีกรอบ เพื่อเก็บรายละเอียดให้เนื้อไม้มีความเรียบเนียนมากขึ้น หากเฟอร์นิเจอร์หรือไม้มีความเรียบเนียนอยู่แล้วสามารถใช้กระดาษทรายเบอร์ 120 ขัดได้เลย
3.ทำความสะอาด
หลังจากที่ขัดไม้เรียบร้อยแล้ว ควรปัดกวาดคราบฝุ่น คราบผงออกจากชิ้นงานให้หมด พร้อมทั้งดูดฝุ่นบริเวณรอบๆ เพื่อป้องกันไม่ให้คราบฝุ่น คราบผงต่างๆ ปลิวมาติดชิ้นงาน ขณะที่ลงแล็กเกอร์
4.ลงรองพื้นแล็กเกอร์
การลงรองพื้นแล็กเกอร์เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยปรับระนาบไม้ และอุดร่องเสี้ยนต่างๆ ให้เต็ม ซึ่งทาง TOA เองก็มีผลิตภัณฑ์รองพื้นแล็กเกอร์ ในชื่อ ทีโอเอ แล็กเกอร์ แซนดิ้ง ซีลเลอร์ T-5555 โดยการใช้งานแนะนำว่าควรลงรองพื้นประมาณ 2 รอบ เสร็จแล้วขัดด้วยกระดาษทรายอีกครั้ง พร้อมทั้งปัดฝุ่น ทำความสะอาดบริเวณรอบๆ ก่อนการทาหรือพ่นแล็กเกอร์ทับหน
5.ทาหรือพ่นแล็กเกอร์
มาถึงขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งแล็กเกอร์นั้นสามารถใช้ได้ทั้งแบบทาและแบบพ่น โดยจะแตกต่างกันตามนี้
ข้อควรระวังในการใช้แล็กเกอร์ทาไม้
การใช้แล็กเกอร์ทาไม้นั้น จำเป็นต้องใช้ทินเนอร์ด้วยเช่นกัน ซึ่งทินเนอร์นั้นมีกลิ่นที่แรงในการเตรียมเจือจางของแล็กเกอร์ไม้ หากสูดดมเข้าไปเป็นเวลานาน อาจทำให้รู้สึกเวียนศีรษะได้ หรือมีอาการระคายเคือง หายใจได้อย่างติดขัดได้ ดังนั้นแล้ว จึงจำเป็นต้องสวมหน้ากากและถุงมือขณะใช้งานอยู่นั่นเอง อีกทั้งทินเนอร์เองก็เป็นวัสดุที่ไวต่อไฟ จึงจำเป็นต้องเอาไว้ให้ห่างจากเปลวไฟขณะใช้งาน หรือเก็บเอาไว้ และควรเก็บไว้ในที่ที่มีอากาศได้สะดวก และควรศึกษาวิธีใช้งานอย่างละเอียด รวมถึงการปฐมพยาบาลหากได้รับอุบัติเหตุ ซึ่งสามารถได้ได้จากข้างกระป๋องได้เลยค่ะ
แล็กเกอร์ไม้ไม่เพียงแต่ทาแค่วัสดุจากไม้
แล็กเกอร์ทาไม้นั้น สามารถใช้ทาเคลือบผิววัสดุอื่น ๆ นอกเหนือจากไม้ได้เช่นกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็น โลหะ พลาสติก กระดาษ เป็นต้นค่ะ
13 ม.ค. 2566
14 ต.ค. 2565
18 พ.ย. 2565
22 ต.ค. 2565